สถานีสนามหลวง (รถไฟฟ้าสายสีส้ม)

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า) (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การร่วมลงทุนกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดิน และยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก - ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟสายสายธนบุรี (ทางรถไฟสายใต้เดิม) แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่า ย่านใจกลางเมืองก่อนออกไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์และออกสู่ย่านชานเมืองถนนรามคำแหง มาสิ้นสุดเส้นทางที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครบริเวณจุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิมช่วงสามเสน-บางกะปิ มาต่อขยายเส้นทางจากสามเสน (ซังฮี้) ไปยังบางบำหรุ กลายเป็นเส้นทางบางบำหรุ-บางกะปิที่กำหนดให้เป็นสายสีส้ม บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขแนวเส้นทางบางส่วนโดยสลับกับโครงข่ายในเมืองของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มจากเดิมกลายเป็นตลิ่งชัน - มีนบุรี และใน พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนอีกครั้ง โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสุดอยู่แค่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ - มีนบุรีปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - มีนบุรี - แยกร่มเกล้า โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเส้นทางช่วงตะวันออกเป็นอันดับแรก ส่วนโครงการช่วงตะวันตกอยู่ในระหว่างการคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินการ คาดว่าจะเปิดใช้งานได้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2570 แต่ปัจจุบันโครงการยังมีปัญหาเรื่องประมูล โดยที่ผ่านมีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชน จนBTSC ฟ้อง รฟม.ต่อศาลปกครองอยู่หลายประเด็น (คดีหมายเลขดำ 2280/2563 บีทีเอสซี ฟ้องคณะกรรมการตาม ม.36 พรบร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ในประเด็นที่ปรับเปลี่ยนหลักเกณท์วิธีการคัดเลือกเอกชน ต่อมาศาลปกครองยกฟ้อง[2]) (คดีหมายเลขแดง อท.30/2564 บีทีเอสซี ฟ้องผู้ว่ารฟมและคณะกรรมการ ม.36 ซึ่งต่อมาศาลอาญาทุจริตได้ยกฟ้องเพราะหลักฐานฝ่ายบีทีเอสไม่มีน้ำหนัก และฝ่ายบีทีเอสทราบถึงรายละเอียด RFP [3]) (คดีหมายเลขดำ 580/2564 ศาลปกครองกลาง พิพากษาตัดสินกรณี ให้เพิกถอนมติยกเลิกการประกวดราคาของ คณะกรรมการมาตรา 36 และคำสั่งยกเลิกการประกวดราคาของผู้ว่า รฟม. ถือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[4]) ปัจจุบัน BEM เป็นผู้ชนะประมูลช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-มีนบุรี) แต่รอความชัดเจนจากศาลปกครองในการตัดสิน ซึ่งจะกระทบถึงสายสีส้มตะวันออกด้วย[5]

สถานีสนามหลวง (รถไฟฟ้าสายสีส้ม)

เว็บไซต์ mrta-orangelineeast.com
ขบวนรถ ยังไม่เปิดเผย
รูปแบบ ระบบขนส่งมวลชนเร็ว
แผนการเปิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2568[1]
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง

ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ไฟฉาย – บางยี่ขัน
บางขุนนนท์
ศิริราช
แม่น้ำเจ้าพระยา
สนามหลวง
ผ่านฟ้า
บางขุนพรหม – สามยอด
หลานหลวง
สายธานีรัถยา ยศเส – ราชวิถี
ยมราช
ราชเทวี พญาไท – สยาม
ราชเทวี
ประตูน้ำ
ราชปรารภ พญาไท – มักกะสัน
ราชปรารภ
รางน้ำ
ประชาสงเคราะห์
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ห้วยขวาง – พระราม 9
ศูนย์ซ่อมบำรุง
รฟม.
นวศรี – ศูนย์วิจัย
วัดพระราม 9
รามคำแหง 12
ม.รามคำแหง
กกท.(ราชมังคลา)
รามคำแหง 34
สนามกีฬาคลองจั่น
บางกะปิ – ศรีกรีฑา
แยกลำสาลี
ศรีบูรพา
คลองบ้านม้า
สัมมากร
น้อมเกล้า
ราษฎร์พัฒนา
มีนพัฒนา
เคหะรามคำแหง
ตลาดมีนบุรี
มีนบุรี
แยกร่มเกล้า(สุวินทวงศ์)
แผนภาพนี้:
เจ้าของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
จำนวนสถานี 29
ระบบ รถไฟฟ้ามหานคร
สถานะ ติดตั้งระบบ
ความเร็ว 80 km/h (50 mph)
ลักษณะทางวิ่ง ทางยกระดับ
ทางใต้ดิน
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร
รางกว้าง 1.435 เมตร
ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (22.3 ไมล์)
ปลายทาง
ผู้ดำเนินงาน ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ